ทั้งนี้ ทางเพจ อุทยานแห่งชาติเอราวัณ Erawan National Park ได้ออกมาระบุว่า วันที่ 10 กันยายน 2564 เป็นต้นไป อุทยานแห่งชาติเอราวัณเปิดการท่องเที่ยวแบบไป-กลับ (งดพักแรม) โดยในส่วนของน้ำตกเอราวัณมีรายละเอียดการเข้าเยี่ยมชม ดังนี้
– สามารถเดินเล่นและลงเล่นน้ำได้ทุกชั้น (ชั้น 1-7)
• น้ำตกชั้น 1-2 สามารถลงเล่นน้ำได้ถึงเวลา 16.30 น.
• น้ำตกชั้น 3-7 สามารถลงเล่นน้ำได้ถึงเวลา 16.00 น. (งดขึ้นน้ำตกชั้น 3-7 หลังเวลา 16.00 น.)
– ลงเล่นน้ำต้องสวมเสื้อชูชีพทุกคน ทุกชั้น ซึ่งสามารถเตรียมมาเอง หรือไม่สะดวกทางอุทยานมีบริการเช่าที่บริเวณน้ำตกชั้น 1
อุทยานแห่งชาติเอราวัณ ตั้งอยู่ที่ไหน ?
ภาพจาก Diego Fiore / Shutterstock.com
ลักษณะภูมิประเทศ
สถานที่ท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเอราวัณ
น้ำตกเอราวัณ (Erawan Waterfall)
น้ำตกหินปูนที่สวยงามและมีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของกาญจนบุรี มีระยะทางยาวประมาณ 2,200 เมตร แบ่งออกเป็น 7 ชั้น แต่ละชั้นมีความสวยงามแตกต่างกันไป และมีชื่อของแต่ละชั้น ดังนี้
- ชั้นที่ 1 ไหลคืนรัง
- ชั้นที่ 2 วังมัจฉา
- ชั้นที่ 3 ผาน้ำตก
- ชั้นที่ 4 อกนางผีเสื้อ
- ชั้นที่ 5 เบื่อไม่ลง
- ชั้นที่ 6 ดงพฤกษา
- ชั้นที่ 7 ภูผาเอราวัณ ความพิเศษของชั้นนี้คือเมื่อน้ำตกไหลบ่าจะมีลักษณะคล้ายช้างสามเศียร หรือที่เรียกว่า “ช้างเอราวัณ” จึงเป็นที่มาของ “อุทยานแห่งชาติเอราวัณ”
ภาพจาก Diego Fiore / Shutterstock.com
ถ้ำพระธาตุ (Pra That Cave)
อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติเอราวัณ ประมาณ 12 กิโลเมตร เป็นถ้ำมืดขนาดใหญ่ พื้นถ้ำเรียบ มีความยาวประมาณ 200 เมตร มีหินงอกและหินย้อยรูปร่างสวยงามแปลกตา จุดเด่นของถ้ำพระธาตุ คือ หินส่วนใหญ่จะโปร่งแสง และมีหินทรายรูปร่างคล้ายพระธาตุ นอกจากนี้ยังมีเสาเอก เสาโท อยู่ภายในถ้ำอีกด้วย
ภายในถ้ำแบ่งเป็น 5 ห้อง ได้แก่ กบจำศีล ท้องฟ้าจำลอง เสาเอก ม่านลิเก และระฆัง อากาศภายในถ้ำโปร่งสบาย และถ้ำพระธาตุสามารถให้ความรู้ด้านธรณีวิทยาและแผ่นดินไหวได้ด้วย เพราะมีร่องรอยของสภาพรอยเลื่อนที่เกิดจากปรากฏการณ์ธรรมชาติและการเกิดแผ่นดินไหว
ถ้ำวังบาดาล (Wang Bahdan Cave)
อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติเอราวัณประมาณ 54 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 323 ตรงหลักกิโลเมตรที่ 63 เลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ 2 กิโลเมตร ถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ อว.3 (วังบาดาล) แล้วเดินต่อไปอีก 1 กิโลเมตร จะถึงปากถ้ำ ลักษณะของถ้ำวังบาดาลเป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่ ปากทางเข้าเป็นห้องเล็ก ๆ มีหลายห้อง ห้องชั้นล่างมีน้ำไหลผ่านและมีสัตว์น้ำอาศัยอยู่ด้วย นอกจากนี้แต่ละห้องยังมีหินงอกหินย้อยที่งดงาม
ภายในอุทยานแห่งชาติเอราวัณ มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติ 3 เส้นทาง ได้แก่
1. เส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าดิบแล้งม่องไล่ : เส้นทางเดินเท้ายาวประมาณ 1,010 เมตร อยู่ใกล้กับน้ำตกเอราวัณ เป็นเส้นทางเดินเลียบลำห้วยม่องไล่ เริ่มจากสะพานค่ายพักไปบรรจบเส้นทางเดินในน้ำตกชั้นที่ 3 เส้นทางจะเลาะแนวน้ำตก เกือบตลอดเส้นทางสภาพป่าเป็นป่าดิบแล้งและป่าทดแทน เส้นทางนี้เหมาะสมสำหรับบุคคลทุกเพศทุกวัย เดินทางไม่ลำบากมากนัก ใช้เวลาประมาณ 45 นาที
ภาพจาก momemoment / Shutterstock.com
3. เส้นทางศึกษาธรรมชาติเขาหินล้านปี : เป็นเส้นทางยาวประมาณ 1,940 เมตร เริ่มต้นจากลานจอดรถไปบรรจบกับเส้นทางในน้ำตก บริเวณสะพานน้ำตกชั้นที่ 4 ใช้เวลาเดินประมาณ 2 ชั่วโมง ตลอดเส้นทางจะปรากฏความหลากหลายของสังคมพืช สามารถจำแนกลักษณะของป่า ออกเป็น 3 ชนิด คือ ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าเต็งรัง และมีจุดชมวิวที่สวยงามหลายจุด ที่สำคัญสามารถมองเห็นน้ำตกเอราวัณชั้นที่ 7 (หัวช้างเอราวัณ) ในฤดูน้ำหลากได้ชัดเจนที่สุด เส้นทางนี้จึงต้องมีสภาพร่างกายที่แข็งแรงพอสมควร
ที่พักในอุทยานแห่งชาติเอราวัณ
อุทยานแห่งชาติเอราวัณ มีที่พักบริการทั้งแบบบ้านและลานกางเต็นท์
ที่พักบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
- โซนที่ 1 ที่พักบริเวณเอราวัณ 932 (ค่ายเยาวชนชาย)
- โซนที่ 2 ที่พักบริเวณเอราวัณ 931 (ค่ายเยาวชนหญิง)
- โซนที่ 3 ที่พักบริเวณเอราวัณ 202/4 (ริมธาร)
- โซนที่ 4 ที่พักบริเวณเอราวัณ 202/3 (ริมธาร)
- โซนที่ 5 ที่พักบริเวณเอราวัณ 202/2 (ริมธาร)
- โซนที่ 6 ที่พักบริเวณเอราวัณ 202/1 (ริมธาร)
- โซนที่ 7 ที่พักบริเวณเอราวัณ 201/4 (ริมไพร)
- โซนที่ 8 ที่พักบริเวณเอราวัณ 201/3 (ริมไพร)
- โซนที่ 9 ที่พักบริเวณเอราวัณ 102 (หลังแฝด)
- โซนที่ 10 ที่พักบริเวณเอราวัณ 103 (เอราวัณ)
- โซนที่ 11 ที่พักบริเวณเอราวัณ 105 (ริมแคว)
- โซนที่ 12 ที่พักบริเวณเอราวัณ 106 (สะแกดง)
- โซนที่ 13 ที่พักบริเวณเอราวัณ 107 (หิรัญญิการ์)
- โซนที่ 14 ที่พักบริเวณเอราวัณ 201/1 (ริมไพร)
- โซนที่ 15 ที่พักบริเวณเอราวัณ 201/2 (ริมไพร)
- โซนที่ 16 ที่พักบริเวณเอราวัณ 101 (มังตาล)
สำหรับพื้นที่กางเต็นท์สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ เฟซบุ๊ก อุทยานแห่งชาติเอราวัณ Erawan National Park หรือดูรายละเอียดได้ที่ nps.dnp.go.th
สิ่งอำนวยความสะดวก
- ร้านค้าสวัสดิการ เปิดบริการทุกวันเวลา 08.00-16.30 น.
- สัญญาณโทรศัพท์ในพื้นที่
1. บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ : AIS, TRUE, DTAC
2. บริเวณน้ำตกเอราวัณ ชั้นที่ 1 : AIS, TRUE, DTAC
3. บริเวณน้ำตกเอราวัณ ชั้นที่ 2 : AIS, TRUE, DTAC
4. บริเวณน้ำตกเอราวัณ ชั้นที่ 3 : AIS, TRUE
5. บริเวณน้ำตกเอราวัณ ชั้นที่ 4 : AIS, TRUE
6. บริเวณน้ำตกเอราวัณ ชั้นที่ 7 : AIS, TRUE
7. บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเอราวัณ ที่ อว.1 (ถ้ำพระธาตุ) : AIS * สัญญาณไม่เสถียร มีเฉพาะหน้าที่ทำการ
8. บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเอราวัณ ที่ อว.3 (วังบาดาล) : AIS, DTAC, TRUE
ภาพจาก park.dnp.go.th
อัตราค่าบริการเข้าอุทยานแห่งชาติเอราวัณ
ชาวไทย : ผู้ใหญ่ 100 บาท เด็ก 50 บาท
ชาวต่างชาติ : ผู้ใหญ่ 300 บาท เด็ก 200 บาท
อัตราค่าบริการสำหรับยานพาหนะ
ภาพจาก park.dnp.go.th
ภาพจาก park.dnp.go.th
อุทยานแห่งชาติเอราวัณ การเดินทาง
รถยนต์ : จากตัวเมืองกาญจนบุรีสามารถใช้ได้ 2 เส้นทาง คือ
สายที่ 1 เริ่มต้นจากจังหวัดกาญจนบุรีไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3199 ถึงเขตของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเขื่อนศรีนครินทร์ ข้ามสะพานไปยังตลาดเขื่อนศรีนครินทร์ แล้วจึงเลยเข้าไปยังที่ทำการอุทยานแห่งชาติเอราวัณ ระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 70 กิโลเมตร
สายที่ 2 เดินทางจากอุทยานแห่งชาติไทรโยค จะมีเส้นทางบริเวณบ้านวังใหญ่อยู่ห่างจากน้ำตกไทรโยคน้อยประมาณ 6 กิโลเมตร ลัดออกไปบ้านโป่งปัดบริเวณเขื่อนท่าทุ่งนาระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามถนนหมายเลข 3199 อีกประมาณ 25 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติเอราวัณ
รถไฟ : จากสถานีรถไฟบางกอกน้อย มีรถไฟวันละ 2 เที่ยว ได้แก่ เวลา 07.50 น. และ 13.45 น. โดยแวะจอดที่สถานีกาญจนบุรี สะพานข้ามแม่น้ำแคว ท่ากิเลน สถานีน้ำตก และในวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดราชการ มีรถไฟเที่ยวพิเศษ นำเที่ยวไป-กลับภายในวันเดียว ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมที่ สถานีรถไฟกาญจนบุรี โทรศัพท์ 0-3451-1285
รถโดยสารประจำทาง : โดยรถโดยสารประจำทางจากสถานีขนส่งกาญจนบุรี หมายเลข 8170 กาญจนบุรี-เอราวัณ ทุก 1 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 08.00-17.20 น. เพื่อเดินทางเข้าสู่อุทยานแห่งชาติเอราวัณ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที รวมระยะทางประมาณ 70 กิโลเมตร
ช่องทางการติดต่ออุทยานแห่งชาติเอราวัณ
หมายเหตุ : ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงกรุณาตรวจสอบอีกครั้ง
ขอบคุณข้อมูลจาก
park.dnp.go.th, เฟซบุ๊ก อุทยานแห่งชาติเอราวัณ Erawan National Park, park.dnp.go.th, portal.dnp.go.th