หม้อสนาม หม้อขนาดเล็ก ทรงสี่เหลี่ยม รูปลักษณ์สุดคลาสสิค ทำมาจากอะลูมิเนียมสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ มีมุมโค้งมน ผ่านไปกี่ยุคสมัยก็ยังคงรูปแบบเดิม ยิ่งผ่านฟืนไฟดำไหม้ ยิ่งดูมีมนต์ขลัง และทุกส่วนที่ประกอบมาเป็นหม้อสนามสามารถนำมาใช้งานได้ทุกส่วน เป็นเหมือนหม้อเอนกประสงค์ที่ทำได้ทุกอย่างภายในใบเดียว จึงทำให้เป็นอุปกรณ์สำคัญที่นักท่องไพรเกือบทุกคนต้องมีติดกระเป๋าเป้ทุกครั้งที่เข้าป่า
เดิมหม้อสนามถูกออกแบบโดยกองทัพ เพื่อใช้งานในกองทัพ
หม้ออะลูมิเนียมชนิดนี้ ถือกำเนิดมาจากทางกองทัพทหาร มีการออกแบบรูปลักษณะที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับแต่ละกองทัพของแต่ละประเทศ เพื่อให้ทหารของกองทัพตนเองได้ใช้ในการออกภาคสนาม บางประเทศออกแบบหม้อสนามให้มีเป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทรงสูง แต่อีกหลายๆ ประเทศก็ออกแบบให้มีลักษณะทรงโค้งตรงมุม แต่เว้าตรงกลางหม้อ เพื่อให้รองรับเข้ากับเอวของสรีระของคน มองดูดี ๆ จะคล้ายกับรูปทรงของถั่ว แต่จุดร่วมที่คล้ายกันที่อยู่ภายในหม้อสนามก็คือ
- มีขนาดเล็กกะทัดรัด น้ำหนักเบา พกพาง่าย
- ใช้งานได้อย่างเอนกประสงค์ ไม่ว่าจะเป็นกระทะเพื่อทอด/ ผัด เป็นหม้อเพื่อต้ม /แกง หุงข้าว เป็นจานข้าว เป็นชามใส่กับข้าว เป็นเขียง หรือแม้กระทั่งเป็นที่เก็บของกระจุกกระจิกเพื่อช่วยประหยัดพื้นที่ในกระเป๋าเป้ไปได้อีกเยอะ
- เก็บอาหารได้ทั้งร้อนและเย็น
- มีหูหิ้วเพื่อให้ในการเกี่ยว แขวนกับกิ่งไม้หรืออุปกรณ์อื่น ๆ
ส่วนประกอบของ หม้อสนาม
สำหรับ นักเดินป่าอย่างเรา ๆ นิยมพกหม้อสนามไปเพื่อใช้ในการหุงข้าว เพราะหม้อ 1 ใบ สามารถหุงข้าวให้คนกินข้าวได้ถึง 4-5 คนเลยทีเดียว แถมยังเอาฝาบนและฝาล่างมาดัดแปลงเป็นจานข้าวได้อีกด้วย
ข้าวก้นหม้อไหม้ + ข้าวตรงกลางหม้อสุก + ข้าวด้านบนหม้อแฉะและดิบ = ข้าวสามกษัตริย์
เรื่อง 1 ที่นักเดินป่า ที่เพิ่งเข้ามาในวงการนี้ ส่วนใหญ่จะต้องเจอนั่นก็คือ การได้ลิ้มลองรสชาติของข้าวสามกษัตริย์ ที่หุงด้วยฝีมือของตัวเอง และนั่นทำให้หลาย ๆ คนเริ่มรู้สึกว่า การหุงข้าวในป่านี้ยากจัง แต่นั่นเป็นเพียงเพราะว่า เรายังเข้าไม่ถึงศาสตร์และศิลป์ของการหุงข้าวด้วยหม้อสนามนั่นเอง!!!
ข้าวสามกษัตริย์ เป็น รสชาติที่นักเดินป่ามือใหม่ต้องลิ้มลองเสมอ ๆ
ศาสตร์และศิลป์ของการหุงข้าวด้วยหม้อสนาม
การหุงข้าวในป่า ไม่ใช่เพียงเรื่องของการ “หุงข้าว” แต่เป็นเรื่องของ “ศิลปะของการหุงข้าว” เพราะเราต้องมีความเข้าใจและมองสิ่งต่อไปนี้ให้ลึกและซึ้ง
- ศิลปะแห่งไฟ ว่ากันว่า 1 ในเคล็ดลับของการทำอาหารให้อร่อย ก็คือ การรู้จักใช้ไฟ การหุงข้าวด้วยระบบมือก็เช่นกัน “เราต้องรู้จักและเข้าใจการใช้ไฟ” การหุงข้าวเริ่มแรกต้องใช้ไฟแรงระดับกลาง – แรงมาก กะเวลาราว15 นาที หรือสังเกตว่าเริ่มมีน้ำข้าวถูกแรงดันให้ไหลออกมาจากหม้อข้าว จนน้ำเริ่มแห้ง และมีควันข้าว ๆ ลอยออกมาจากหม้อสนาม ก็ให้เอาไม้มาเคาะ ๆ ด้านข้างของหม้อ หากได้ยินเสียงแน่นๆ ก็ให้ลองเปิดฝาหม้อออกมาดูว่าข้าวเริ่มสุกแล้วหรือยัง? หากเริ่มสุกจนเกือบเต็มที่แล้ว ให้ยกหม้อลงวางใกล้ๆ บริเวณไฟที่ไม่แรงมาก เพื่อทำการ “ดง” ข้าวบริเวณด้านข้างของหม้อให้สุกTip : การหุงข้าวด้วยเตาแก๊ส ก็ใช้ไฟแบบเดียวกัน คือไฟแรงก่อน แล้วจึงใช้ไฟอ่อนเมื่อเราต้องการดงข้าว เพียงแต่เราต้องคอยดูข้าวที่กำลังหุงอยู่ตลอดเวลา
- ศาสตร์แห่งข้าว ศิลป์ของใส่น้ำที่พอเหมาะ ข้าวแต่ละแบบมีองค์ประกอบที่แตกต่างกัน เช่น ข้าวบางชนิดเหมาะกับการนำมาผัด เช่น ข้าวเสาไห้ เพราะมีความร่วนและแข็ง ดังนั้น การหาความรู้และศึกษาเรื่องชนิดของข้าวก่อนเข้าป่าจึงเป็นเรื่องที่ควรศึกษาก่อนบ้าง (อ่าน 12 สายพันธุ์ข้าวในประเทศไทย >>> https://www.wongnai.com/food-tips/12-rice-in-thailand)
- นอกจากนี้ ข้าวแต่ละชนิดมีความต้องการ “น้ำ” ในการหุงแตกต่างกัน ในหม้อสนามเกือบของทุกแบบ จะมีขีดที่บอกระดับในการใส่น้ำ ซึ่งเป็นปริมาณการใส่น้ำที่เหมาะกับการหุง”ข้าวใหม่” หรือ “ข้าวมะลิ” แต่หากเป็น “ข้าวเก่า” หรือ “ข้าวกล้อง” ซึ่งมีความแข็งและร่วนเยอะมากกว่า เราต้องใส่น้ำให้เต็มพอดีกับหม้อสนาม เพื่อให้ข้าวที่สุกแล้วมีความนุ่ม หอม และอร่อย
- ศิลปะของการตวงข้าว เทคนิคง่าย ๆ เลย คือ เราจะใช้ฝาด้านในของหม้อสนาม หรือ ที่เราเรียกกันทั่วไปว่า “ลิ้นหม้อสนาม” มาใช้ในการตวงข้าว เทข้าวสารให้เต็มฝาจำนวน 1 ฝา แล้วเทใส่ลงไปในหม้อสนาม จากนั้นเติมน้ำลงไปตามความเหมาะสมของข้าว แล้วจึงนำไปตั้งไฟได้เลย…
เพียง 3 ข้อสั้น ๆ ง่าย ๆ ก็ทำให้การหุงข้าวในป่าของเราในครั้งต่อไปจะไม่เป็น สามกษัตริย์อีกต่อไป …. ขอแค่ให้เราเข้าใจ วิธีการหุงข้าวด้วย หม้อสนาม ตามหัวข้อ ด้านบน และลองหุงข้าวที่บ้านก่อนเข้าป่า ก็จะเพิ่มความมั่นใจ และความเข้าใจในการหุงข้าวแบบ Manual ได้มากขึ้นและอร่อยขึ้นมากกว่าเดิม ^^ ************************************************************************ สนใจซื้อหม้อสนาม ราคาไม่แรง คลิกที่นี่ >> เลือกซื้อ หม้อสนาม สนใจสั่งซื้อสินค้า มีให้เลือกหลายแบบ คลิกที่นี่ >> http://shop.trekkingthai.com/ สนใจไปเที่ยวเดินป่ากับทีมงานมืออาชีพกับเรา คลิกที่นี่ >> http://bit.ly/2A3KsET ซื้อแล้ว หากสินค้ามีปัญหา ต้องการคำแนะนำต่าง ๆ กลับมาหาเรานะ … “เรายินดีช่วยให้คำปรึกษา โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย พร้อมคำแนะนำ สาธิตวิธีการต่าง ๆ อย่างถูกต้องเหมาะสม ในครั้งต่อๆ ไป จะสามารถทำได้เอง ไม่ต้องเสียเวลามาที่ร้าน จ้า” “ด้วยความเป็นเพื่อน บริการด้วยใจ เรายินดีให้คำปรึกษาทั้งในการใช้งาน และปัญหาต่าง ๆ”